ข้อมูลการดำเนินงาน

การจัดการองค์ความรู้

ลิงค์ที่น่าสนใจ

สภาพและข้อมูพื้นฐาน

 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานพื้นฐาน

1.ด้านกายภาพ

1.1 ที่ตั้งของตำบลพร่อน

            ประวัติความเป็นมาของตำบลพร่อน 
            บ้านพร่อนอยู่ในเขต ต.พร่อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เป็นพื้นที่เก่าแก่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเป็นจุดเริ่มต้นของ อ.ตากใบ พบว่ามีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ยุคต้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘ เช่น ป้อมค่าย คูเมือง เครื่องถ้วยชาม เครื่องปั้นดินเผาจำนวนมาก และทางทิศเหนือของวัดพระพุทธเป็นป่าช้า พบว่ามีซากเจดีย์เก่าอยู่ ๒ องค์ (กรมศิลปากร.๒๕๕๑) ชุมชนวัดพระพุทธ (พร่อน) เดิมเรียกว่าวัดใต้ตีน เป็นชุมชนโบราณสมัยเดียวกับบ้านพร่อนและโคกอิฐ ชาวบ้านได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนปี พ.ศ.๒๓๒๐ ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งมีกรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวง เมื่อกู้เอกราชได้สำเร็จก็แผ่อำนาจไปทางใต้ถึงชวา โดยพาคนจำนวนมากล่องเรือมาตามลำน้ำปูยู เมื่อมาถึงปากบางพร่อน เรือวิ่งต่อไปไม่ได้ จึงต้องจอดและอพยพผู้คนขึ้นมาบนบก พร้อมอัญเชิญพระพุทธรูป ๒ องค์ ขึ้นมาประดิษฐาน ณ ปากคลองตามตำนานเล่าว่า พระพุทธรูปองค์พี่ได้แสดงปฏิหาริย์ลอยขึ้นบนท้องฟ้าแล้วหมุนวนอยู่ในอากาศ และหายไป ชาวบ้านจึงเรียกเป็นชื่อตำบลพระร่อน ต่อมาชาวบ้านได้ออกเสียงเพี้ยนจึงกลายมาเป็น “ตำบลพร่อน” จนถึงปัจจุบัน (ขุนวรสิทธิ์ สาธร กำนันตำบลพระร่อน อำเภอตากใบ เมืองนราธิวาส. เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลปักษ์ใต้.ม.ป.ป.;๓:๔๙)ส่วนพระพุทธรูปองค์น้อง “พ่อท่านพระพุทธ” ชาวบ้านเกรงจะหายไป จึงทำพิธีตัดเล็บมือเล็บเท้า เพราะเชื่อว่าจะทำให้ไมได้ขนาดในการแสดงปฏิหาริย์หายไปและได้ล่ามโซ่เอาไว้ ปัจจุบันพ่อท่านพระพุทธเป็นประธานในพระอุโบสถวัดพระพุทธ เมื่อถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๕ ของทุกปี (ในอดีตเป็นวันขึ้นปีใหม่) ชาวบ้านร่วมกันนิมนต์พ่อท่านพระพุทธออกมาสรงน้ำ เพื่อขอพรให้เป็นสิริมงคล นิมนต์พระภิกษุสวดบังสุกุลบัว เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้ผู้ล่วงลับ และทำบุญเลี้ยงพระพร้อมรับประทานอาหารร่วมกันจนเป็นประเพณีสืบต่อกันมา

  • องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน ประกอบด้วย 2 ตำบล  คือ ตำบลพร่อนและตำบลเจ๊ะเหบางส่วน

-ทิศเหนือ            จด      อ่าวไทย

-ทิศใต้                จด      ตำบลโฆษิตและอำเภอสุไหงปาดี

-ทิศตะวันออก       จด      ตำบลโฆษิต  ตำบลเกาะสะท้อนและเทศบาลเมืองตากใบ

-ทิศตะวันตก         จด      ตำบลบางขุนทองและตำบลศาลาใหม่

  • เนื้อที่

อบต.พร่อนมีเนื่อที่ทั้งหมดรวม 62.735  ตารางกิโลเมตร หรือ 79,212.5 ไร่  แยกเป็น

ตำบลพร่อน  มีเนื้อที่โดยประมาณ  51.595  ตารางกิโลเมตร  หรือ 32,250ไร่

ตำบลเจ๊ะเห  มีเนื้อที่โดยประมาณ  11.14  ตารางกิโลเมตรหรือ 6,962.5 ไร่

 

                                                                                                                                                     ภาพที่ ๑ แสดงแผนที่ตั้งและอาณาเขตตำบลพร่อน

1.2   ลักษณะภูมิประเทศ

         ภูมิประเทศของตำบลพร่อน ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม และบางส่วนเป็นที่ดอนคล้ายลูกคลื่น พื้นที่ของหมู่ที่ 2,3 และ 5 บางส่วนเป็นพื้นที่เขตป่าพรุ มีน้ำท่วมขังตลอดปี  และบางหมู่บ้านเป็นพื้นที่ราบ  เป็นทราย  ชายทะเลและดินเค็ม

1.3 ลักษณะภูมิอากาศ

          สภาพภูมิอากาศเป็นแบบร้อนชื้น มี 2  ฤดู  คือ

              -ฤดูร้อน  ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน

              -ฤดูฝน  ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดไป

              ฝนตกมากที่สุด  คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคมของทุกปี

1.4 ลักษณะของดินประกอบด้วย

                   -ดินเหนียว

                   -ดินร่วนปนทรายแป้ง

              -ดินเปรี้ยว

                   -ดินทราย

1.5 ลักษณะของแหล่งน้ำ

                แหล่งน้ำธรรมชาติ

                   -  แม่น้ำตากใบ

                   -  แม่น้ำบางนรา

               แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

  1. คลองระบายน้ำรวม                9                        สาย
  2. คลองส่งน้ำรวม                     9                        สาย
  3. ประปาหมู่บ้านรวม                 4                        แห่ง

                             ประปาบาดาลขนาดใหญ่  หมู่ที่ 1  ตำบลพร่อน

                             ประปาบาดาลขนาดใหญ่  หมู่ที่ 4 ตำบลพร่อน

                             ประปาบาดาลขนาดใหญ่  หมู่ที่ 6 ตำบลพร่อน

                             ประปาบาดาลขนาดกลาง หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะเห

  1. บ่อน้ำตื้นประมาณรวม  1,040  บ่อ
  2. สระน้ำสาธารณะรวม  2  แห่ง

1.6 ลักษณะของไม้/ป่าไม้

                   -พื้นที่ของตำบลพร่อนมีสภาพพื้นที่ปกคลุมด้วยป่าไม้ ประกอบด้วยพื้นที่ป่าพรุ มีเนื้อที่โดยประมาณ 12,000 ไร่ และป่าชายเลนตลอดแนวชายฝั่ง เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ เช่น ปู หอย เป็นต้น

 2.ด้านการเมือง/การปกครอง

          2.1 เขตการปกครอง

                 องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง  แบ่งการปกครองเป็น 10  หมู่บ้าน 2 ตำบล ประกอบด้วย 

หมู่ที่

ชื่อหมู่บ้าน

ชื่อผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน

(หมายเลขโทรศัพท์)

หมายเหตุ

ตำบลเจ๊ะเห

1

 

2

 

3

 

4

 

 

 

บ้านเกาะยาว

 

บ้านไร่

 

บ้านเจ๊ะเห

 

บ้านบางน้อย

 

นายอาหามะ  บือซา  (โทร.0822638535)

 

นายสมศักดิ์  ศรีสังข์ (กำนัน) (โทร. 08-9879-1933)

 

นายวิเชียร  ปลื้มสำราญ (โทร.08-9737-6215)

 

นายประกอบ  ศรีสังข์ (โทร.08-9737-8358)

 

 

เป็นหมู่บ้านในเขต อบต.บางส่วน

 

เป็นหมู่บ้านในเขต อบต.เต็มทั้งหมู่บ้าน


เป็นหมู่บ้านในเขต อบต.บางส่วน



เป็นหมู่บ้านในเขต อบต.บางส่วน

 

 

2.2 การเลือกตั้ง

         การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน  เมื่อวันที่  9  ตุลาคม 2556   มีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและผู้มาใช้สิทธิ์  ดังนี้

 

ประเภทการเลือกตั้ง

เขตเลือกตั้ง

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง

คิดเป็นร้อยละ

นายก อบต

1

4,314

3,589

83.19

 

 

          การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน  จำนวน 10  เขตเลือกตั้ง  รวม  20  คน  เมื่อวันที่  9 ตุลาคม 2556  ซึ่งมีจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและผู้มาใช้สิทธิ์  ดังนี้

 

ประเภทการเลือกตั้ง

เขตเลือกตั้ง

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง

คิดเป็นร้อยละ

ส.อบต.

1

421

361

85.75

ส.อบต.

2

292

258

88.36

ส.อบต.

3

820

672

81.95

ส.อบต.

4

532

444

83.46

ส.อบต.

5

934

788

84.37

ส.อบต.

6

329

277

84.19

ส.อบต.

7

352

269

73.58

ส.อบต.

8

364

285

78.30

ส.อบต.

9

100

75

75

รวม

4,312

3,429

79.52

 

 รายละเอียดนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย

           ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน

  1. นายกาหลง แดงสุวรรณ นายก อบต.
  2. นายธนิต ทองคุปต์                    รองนายก อบต.
  3. นายสมคิด ดำกระเด็น รองนายก อบต.
  4. นางปานจิตร์ สีสุวรรณ์ เลขานุการนายก
  • สมาขิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน

1. นายมานพ  เสี้ยวทอง 

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 1  ตำบลพร่อน

2. นายไสว  ไชยสิทธิ์

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 1  ตำบลพร่อน

3. นางปราณี  จินดาเพชร

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 2  ตำบลพร่อน

4. นายลาภ  หมานจันทร์

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 2  ตำบลพร่อน

5. นายแดง  คงประเสริฐ

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 3  ตำบลพร่อน

6. นายอำนวย  จันทร์สกุล

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 3  ตำบลพร่อน

7. นายเวียน  เทพเงิน

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 4  ตำบลพร่อน

8. นายช่อ  จันทร์คง

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 4  ตำบลพร่อน

9. นายนายรอปีกีอาแว

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 5  ตำบลพร่อน

10. นายอัศกรณ์  ตุนาสุข

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 5  ตำบลพร่อน

11. นายเกรียงศักดิ์  คงจินดา

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 6  ตำบลพร่อน

12. นางเตื้อน  คงประเสริฐ

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 6  ตำบลพร่อน

13. นายมามะอูซัน  ยูโซ๊ะ

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 1  ตำบลเจ๊ะเห

14. นายรอยะ   อีซอ

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 1  ตำบลเจ๊ะเห

15. นายเติม  บุญหลง

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 2  ตำบลเจ๊ะเห

16. นายกฤษดา  น้อยสร้าง

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 2  ตำบลเจ๊ะเห

17. นายอนันต์  คงชล

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 3  ตำบลเจ๊ะเห

18. นางเฉลา  หงส์น้อย

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 3  ตำบลเจ๊ะเห

19. นายทะนง  ชินพงษ์

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 4  ตำบลเจ๊ะเห

20. นางเพ็ญศรี  จันทร์สร้าง

สมาชิกสภาอบต.หมู่ที่ 4  ตำบลเจ๊ะเห

 

3.จำนวนประชากร

3.1ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร

         จำนวนประชากรตำบลพร่อน  มีทั้งสิ้น  จำนวน  4,475คน  แยกเป็นชาย  2,137คน และหญิง  2,337 คน  จำนวนครัวเรือนทั้งหมด  1,467 ครัวเรือน

         จำนวนประชากรตำบลเจ๊ะเห มีทั้งสิ้น  จำนวน  1,550คน  แยกเป็นชาย  768คน  และหญิง 782  คน  จำนวนครัวเรือนทั้งหมด  385 ครัวเรือน

ชื่อหมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน

จำนวนประชากร

ชาย

หญิง

รวม

ตำบลพร่อน

หมู่ที่ 1 บ้านปลักช้าง

หมู่ที่ 2 บ้านโคกไผ่

หมู่ที่ 3 บ้านใหญ่

หมู่ที่ 4 บ้านโคกมะม่วง

หมู่ที่ 5 บ้านโคกยาง

หมู่ที่ 6 บ้านวัดใหม่

 

ตำบลเจ๊ะเห

หมู่ที่ 0 เจ๊ะเห

หมู่ที่ 1 บ้านเกาะยาว

หมู่ที่ 2บ้านไร่

หมู่ที่ 3บ้านเจ๊ะเห

หมู่ที่ 4บ้านบางน้อย

 

 

165

106

448

283

325

140

1,467

 

 

1

98

166

38

82

385

 

260

     152

510

330

690

195

2,137

 

 

89

320

210

48

101

768

 

267

211

538

365

735

221

2,337

 

 

72

309

250

50

101

782

 

527

363

1,048

695

1,425

416

4,474

 

 

161

629

460

98

202

1,550

รวม

1,852

2,905

3,119

6,024

ที่มา  : ข้อมูลอำเภอตากใบ เดือนเมษายน  2559

3.2 ช่วงอายุและจำนวนประชากร

          ตำบลพร่อน

ช่วงอายุ

เพศชาย

เพศหญิง

รวม

คน

%

คน

%

คน

%

น้อยกว่า 1 ปีเต็ม

6

0.31

11

0.55

17

0.43

1 ปีเต็ม -2 ปี

26

1.36

26

1.29

52

1.33

3 ปีเต็ม -5 ปี

52

2.73

55

2.74

107

2.73

6 ปีเต็ม -11 ปี

138

7.24

140

6.97

278

7.10

12 ปีเต็ม -14  ปี

87

4.56

57

2.84

144

3.68

15 ปีเต็ม -17 ปี

69

3.62

70

3.49

139

3.55

18 ปีเต็ม - 25 ปี

205

10.76

190

9.46

395

10.09

26 ปีเต็ม - 49 ปี

697

36.57

680

33.86

1,377

35.18

50 ปีเต็ม - 60 ปีเต็ม

251

13.17

319

15.89

570

14.56

มากกว่า 60 ปีเต็ม  ขึ้นไป

375

19.67

460

22.91

835

21.33

รวม

1,906

100

2,008

100

3,914

100

 

                  ตำบลเจ๊ะเห

ช่วงอายุ

เพศชาย

เพศหญิง

รวม

คน

%

คน

%

คน

%

น้อยกว่า 1 ปีเต็ม

1

0.22

2

0.41

3

0.32

1ปีเต็ม-2ปี

7

1.53

11

2.26

18

1.91

3ปีเต็ม-5ปี

20

4.37

11

2.26

31

3.28

6ปีเต็ม-11ปี

47

10.26

49

10.08

96

10.17

12ปีเต็ม-14ปี

16

3.49

23

4.73

39

4.13

15ปีเต็ม-17ปี

30

6.55

25

5.14

55

5.83

18ปีเต็ม-25ปี

55

12.01

51

10.49

106

11.23

26ปีเต็ม-49ปี

139

30.35

150

30.86

289

30.61

50ปีเต็ม-60ปีเต็ม

66

14.41

78

16.05

144

15.25

มากกว่า 60 ปีเต็ม  ขึ้นไป

77

16.81

86

17.70

163

17.27

รวม

458

100

486

100

944

100

ที่มา  : ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ) ปี 2559

4.สภาพสังคม

          4.1 การศึกษา

            ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน     1    แห่ง

                      ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.พร่อน

                           ที่ตั้ง  หมู่ที่ 6  บ้านวัดใหม่

                          จำนวนนักเรียน  40  คน

            โรงเรียนสังกัด สพฐ.(สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน) จำนวน    4   แห่ง

                   -  โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 44 วัดฉัททันต์สนาน

                            ที่ตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลพร่อน

                            จำนวนนักเรียน  157 คน

                            ผู้อำนวยการโรงเรียน นายนันทะ ศรีเจริญโชติ(โทร.08-1963-5171)

                    - โรงเรียนวัดพระพุทธ

                            ที่ตั้ง หมู่ที่ 3 ตำบลพร่อน

                            จำนวนนักเรียน 164   คน

                            ผู้อำนวยการโรงเรียนนายพรเทพ  เศียรสุวรรณ (โทร.08-1957-5688)

                    - โรงเรียนวัดโคกมะม่วง

                           ที่ตั้ง หมู่ที่ 4 ตำบลพร่อน

                           จำนวนนักเรียน 154 คน

                           ผู้อำนวยการโรงเรียน  นางจารีย์  พุฒยืน (โทร.09-4816-7979)

                    - โรงเรียนวัดสิทธิสารประดิษฐ์

                          ที่ตั้ง หมู่ที่ 5 ตำบลพร่อน

                          จำนวนนักเรียน 157 คน

                         ผู้อำนวยการโรงเรียนนายอดิศักดิ์  ชำนาญคง  (โทร.08-7289-1200)        

              กศน.ตำบลพร่อน

                       ที่ตั้ง หมู่ที่ 6 ตำบลพร่อน

4.2 การสาธารณสุข

  1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  รวม  2  แห่ง

                -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพร่อน หมู่ที่ 4 ตำบลพร่อน(โทร.0-7358-3112)

                 -โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาง หมู่ที่ 5 ตำบลพร่อน(โทร.0-7355-1855)

  1. อสม.ตำบลพร่อน มีจำนวน 81 คน

อสม.ตำบลเจ๊ะเห  มีจำนวน 25  คน

  1. 3. อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ  100

4.3 อาชญากรรม -

4.4 ยาเสพติด

                   ปัญหายาเสพติดมีพื้นที่เฝ้าระวังทุกหมู่บ้าน

4.5 การสังคมสงเคราะห์

                 ข้อมูลเบี้ยยังชีพ     - ผู้สูงอายุ        จำนวน  1,048   คน

                                          - ผู้พิการ         จำนวน   146     คน

                                          - ผู้ป่วยเอดส์     จำนวน   2        คน

5. ระบบบริการพื้นฐาน

          5.1 การคมนาคมขนส่ง

หมู่ที่

จำนวน

สายทางรวม

(สาย)

ถนนลาดยาง

(สาย)

ถนนคอนกรีต

เสริมเหล็ก

(สาย)

ถนนลูกรัง

(สาย)

ถนนหินคลุก

(สาย)

ตำบลพร่อน

1

16

1

8

5

2

2

11

2

6

-

3

3

16

1

9

4

2

4

12

1

6

2

3

5

10

1

6

2

1

6

13

2

7

2

2

รวม

78

8

42

15

13

 

 

หมู่ที่

จำนวน

สายทางรวม

(สาย)

ถนนลาดยาง

(สาย)

ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก

(สาย)

ถนนลูกรัง

(สาย)

ถนนหินคลุก

(สาย)

ตำบลเจ๊ะเห

1

16

1

8

5

2

2

11

2

6

-

3

3

16

1

9

4

2

4

12

1

6

2

3

รวม

55

5

29

11

10

รวมทั้งสิ้น

133

13

71

26

23

 

          5.2 การไฟฟ้า

                   มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน  ยกเว้นบ้านจูโว๊ะ  ซึ่งอยู่ห่างไกลและมีบ้านเรือนน้อย

          5.3 การประปา

                   มีระบบประปาหมู่บ้านจำนวน  4 หมู่บ้าน

          5.4 โทรศัพท์

                   ปัจจุบันทุกหมู่บ้านใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่

          5.5 ไปรษณีย์/การสื่อสาร/การขนส่งวัสดุ ครุภัณฑ์

                   ที่ทำการไปรษณีย์ที่ใกล้ที่สุดได้แก่ ไปรษณีย์อำเภอตากใบ ตั้งอยู่อำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส ห่างจากตำบลพร่อนประมาณ 5  กิโลเมตร

 

6.ระบบเศรษฐกิจ

ตำบลพร่อน

6.1 การเกษตร            -ทำนา           จำนวน       929    คน            คิดเป็นร้อยละ 23.74

                               -ทำไร่            จำนวน       1       คน            คิดเป็นร้อยละ 0.03

                               -ทำสวน         จำนวน        96     คน            คิดเป็นร้อยละ 2.45

6.2 การประมง                                จำนวน        1       คน            คิดเป็นร้อยละ 0.53

6.3 การปศุสัตว์                               จำนวน        4      คน             คิดเป็นร้อยละ 0.10

ตำบลเจ๊ะเห

6.1 การเกษตร            -ทำนา            จำนวน     49      คน             คิดเป็นร้อยละ 5.19

                               -ทำไร่             จำนวน     1       คน             คิดเป็นร้อยละ 0.11

                               -ทำสวน          จำนวน     29      คน             คิดเป็นร้อยละ 3.07

6.2 การประมง                                 จำนวน     48      คน             คิดเป็นร้อยละ 5.08

6.3 การปศุสัตว์            -

 

6.4 การท่องเที่ยวมีแหล่งท่องเที่ยว ดังนี้

                   -โบราณสถานโคกอิฐ  สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 2 ตำบลพร่อน

                   -ชายหาดเกาะยาว  สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 1 ตำบลเจะเห

6.5 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

 -  หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน

1)  ตลาดนัดชุมชน/ลาน            รวม  4    แห่ง

2)  โรงสีข้าว  ที่เป็นของกลุ่ม       รวม  2  แห่ง

  • โรงสีข้าวชุมชน หมู่ที่ 2  บ้านโคกไผ่  จำนวน  1  แห่ง
  • โรงสีข้าวซ้อมมือ หมู่ที่ 2  บ้านโคกใน  จำนวน  1  แห่ง

 โรงสีข้าวส่วนบุคคล จำนวน  5  แห่ง

  • หมู่ที่ 1 บ้านปลักช้าง      จำนวน   1    แห่ง
  • หมู่ที่ 3 บ้านใหญ่           จำนวน   2   แห่ง
  • หมู่ที่ 4 บ้านโคกมะม่วง   จำนวน   1    แห่ง
  • หมู่ที่ 5 บ้านโคกยาง       จำนวน  1    แห่ง
  • หมู่ที่ 6 บ้านวัดใหม่        จำนวน   1     แห่ง

 3)  ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง  จำนวน  4แห่ง

  • ร้าน ส.วัสดุก่อสร้าง
  • ร้านตากใบทวีทรัพย์
  • ร้านสหภัณฑ์พานิช
  • ร้านแดงพานิช

 4) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

  • กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกมะม่วงหมู่ที่ 4 ต.พร่อน (ผลิตข้าวซ้อมมือ)
  • กลุ่มผลิตข้าวซ้อมมือนารีสามัคคีธรรมหมู่ที่ 1 ต.พร่อน(ผลิตข้าวซ้อมมือ,ข้าวกล้อง)
  • กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกอิฐ-โคกใน หมู่ที่ 2 ต.พร่อน(ผลิตข้าวซ้อมมือ)
  • กลุ่มปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษบ้านโคกกระท่อม หมู่ที่ 3 ต.พร่อน(ปลูกผักปลอดสารพิษ)
  • ศูนย์ส่งเสริมและผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชนบ้านโคกยาง หมู่ที่ 5 ต.พร่อน(ผลิตภัณฑ์ข้าวชุมชน)
  • กลุ่มผลิตผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวบ้านโคกยาง หมู่ที่ 5 ต.พร่อน (ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว)
  • กลุ่มปักจักรบ้านโคกยาง หมู่ที่ 5  ต.พร่อน(ปักจักร)
  • กลุ่มส่งเสริมกิจกรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านใหญ่ หมูที่ 3  ต.พร่อน(ผลิตสุรากลั่น)
  • กลุ่มสุกใสมั่งคั่งเจริญรุ่งเรือง หมู่ที่ 6  ต.พร่อน(ผลิตสุรากลั่น)
  • กลุ่มเคียวทองเจริญทรัพย์ หมู่ที่ 5  ต.พร่อน(ผลิตสุรากลั่นพื้นบ้าน)
  • กลุ่มแม่บ้านบ้านบางน้อย หมู่ที่ 4  ต.เจ๊ะเห(ผลิตน้ำยาเอนกประสงค์)
  • กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้และตอไม้บ้านบางน้อย หมู่ที่ 4  ต.เจ๊ะเห (แปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้และตอไม้)

 5) กลุ่มออมทรัพย์  20  กลุ่ม

          6) กลุ่มอาชีพ  15  กลุ่มประกอบด้วย

กลุ่มทอผ้าบ้านโคกไผ่

ผลิต              ผ้าขาวม้าทอมือ

ที่ตั้งกลุ่ม          หมู่ที่ 2 ตำบลพร่อน

ประธานกลุ่ม     นางปราณี  จินดาเพชร

โทรศัพท์          08-9596-1176

 กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรข้าวซ้อมมือ  บ้านโคกอิฐ  โคกใน

ผลิต              ข้าวซ้อมมือ ข้าวสังหยด ข้าวหอมกระดังงา

ที่ตั้งกลุ่ม          บ้านโคกใน  หมู่ที่ 2 ตำบลพร่อน

ประธาน                   นางหม๊อง  ทองเครือ

โทรศัพท์          08-6290-1322

  กลุ่มศิลปาชีพปักผ้าวัดพระพุทธ

ผลิต              ผ้าปักลวดลายต่างๆ (ส่งศูนย์ศิลปาชีพ)

ที่ตั้งกลุ่ม         หมู่ที่ 3  ตำบลพร่อน

ประธาน           นางชวนพิศ  คงประเสริฐ

โทรศัพท์          08-9297-5001

 กลุ่มเกษตรกรข้าวซ้อมมือ(บ้านโคกมะม่วง)

ผลิต              ข้าวซ้อมมือ(ข้าวหอมกระดังงา  ข้าวสังหยด)

ที่ตั้งกลุ่ม         หมู่ที่ 4  ตำบลพร่อน

ประธาน           นางดวงใจ  บำรุงศักดิ์

โทรศัพท์          08-6295-7697

 กลุ่มทอผ้าบ้านโคกมะม่วง

ผลิต              ผ้าขาวม้า (ส่งศูนย์ศิลปาชีพ)

ที่ตั้งกลุ่ม         หมู่ที่ 4 ตำบลพร่อน

ประธาน           นางเบญจมาภรณ์  เขียวปัญญา

โทรศัพท์         08-2260-6875

กลุ่มศิลปะประดิษฐ์

ผลิต              ดอกไม้จันทน์  พิมเสนน้ำ  ยาหม่องครีม

ที่ตั้งกลุ่ม         หมู่ที่ 5  ตำบลพร่อน

ประธาน          นางศิริรัตน์  เทียนทอง

โทรศัพท์        08-9294-5694

กลุ่มสตรีจักรสานใบปาหนัน

ผลิต              สมุด  กระเป๋า(ผลิตจากใบปาหนัน)

ที่ตั้งกลุ่ม         หมู่ที่ 5  ตำบลพร่อน

ประธาน           นางสีตีนิมา  มามะ

โทรศัพท์         08-9062-5265

กลุ่มทอผ้าบ้านวัดใหม่

ผลิต              ผ้าขาวม้า  ผ้าฝ้าย

ที่ตั้งกลุ่ม         หมู่ที่ 6 ตำบลพร่อน

ประธาน           นางแต๋ว  ขวัญสืบ

โทรศัพท์         08-4312-5441                                     

กลุ่มแม่บ้านบ้านบางน้อย

ผลิต               น้ำยาล้างจาน  น้ำยาซักผ้า  น้ำยาปรับผ้านุ่ม

ที่ตั้งกลุ่ม          หมู่ที่ 4 ตำบลเจ๊ะเห

ประธาน           นางจารีย์  ขวัญคง

โทรศัพท์         08-4196-4802

กลุ่มนารีสามัคคีธรรม

ผลิต              ข้าวซ้อมมือ(ข้าวสังหยด)

ที่ตั้งกลุ่ม         หมู่ที่ 1  ตำบลพร่อน

ประธาน           นางแดง  ศรีดำ

โทรศัพท์         08-1898-8139

กลุ่มฉัททันต์พัฒนา

ผลิต              ผ้าทอ (ส่งศูนย์ศิลปาชีพ)

ที่ตั้งกลุ่ม         หมู่ที่ 1  ตำบลพร่อน

ประธาน          1.นายสมนึก  พรหมรัตน์

2.นางแต้ม      พรหมรัตน์

โทรศัพท์          08-7969-9351

กลุ่มทอผ้าโคกไผ่

ผลิต              ผ้าขาวม้า  ผ้าไหมมัดหมี่ (ส่งศูนย์ศิลปาชีพ)

ที่ตั้งกลุ่ม         หมู่ที่ 2 ตำบลพร่อน

ประธาน           นางวิชุตา  อินทภาพ

โทรศัพท์         08-9596-1176

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร(บ้านโคกอิฐ – โคกใน)

ผลิต              ข้าวซ้อมมือ

ที่ตั้งกลุ่ม         หมู่ที่ 2  ตำบลพร่อน              

ประธาน          นางหม็อง  ทองเครือ

โทรศัพท์        08-6290-1322

กลุ่มจักรสานเสื่อกระจูด(วัดพระพุทธ)

ผลิต              เสื่อกระจูด (ส่งศูนย์ศิลปาชีพ)

ที่ตั้งกลุ่ม         หมู่ที่ 3 ตำบลพร่อน

ประธาน          นางวิน  ดำอินทร์

โทรศัพท์        08-3184-0908

กลุ่มทอผ้าฝ้ายและผ้าไหม (วัดพระพุทธ)

ผลิต              เสื่อกระจูด

ที่ตั้งกลุ่ม         หมู่ที่ 3 ตำบลพร่อน

ประธาน           นางสุดาพร  ชิณพงษ์

โทรศัพท์         08-6291-9932                 

7.เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น(ด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ)

                 7.1 ข้อมูลพื้นฐานของหมู่บ้าน

อบต.พร่อน

 

จำนวนประชากรชาย

2,137

คน

จำนวนประชากรหญิง

2,337

คน

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด

1,467

ครัวเรือน

พื้นที่

20,450

(ไร่)

หมู่บ้าน

ชาย

หญิง

ครัวเรือน

พื้นที่(ไร่)

บ้านปลักช้าง

260

267

165

2,250

บ้านโคกไผ่

152

211

106

3,750

บ้านใหญ่

520

538

448

6,590

บ้านโคกมะม่วง

330

365

283

3,065

บ้านโคกยาง

690

735

325

3,765

บ้านวัดใหม่

195

211

140

1,030

 

 

 

ตำบลเจ๊ะเห

 

จำนวนประชากรชาย

768

คน

จำนวนประชากรหญิง

782

คน

จำนวนครัวเรือนทั้งหมด

385

ครัวเรือน

พื้นที่

9,655

(ไร่)

หมู่บ้าน

ชาย

หญิง

ครัวเรือน

พื้นที่(ไร่)

บ้านเกาะยาว

320

309

98

1,800

บ้านไร่

210

250

166

1,328

บ้านเจ๊ะเห

48

50

38

2,773

บ้านบางน้อย

101

101

82

3,754

 

7.2 ข้อมูลด้านการเกษตร

  • ตำบลพร่อน

พื้นที่ทั้งหมด 32,247 ไร่ พื้นที่ถือครอง 15,616 ไร่ พื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร 12,336 ไร่  พื้นที่ทำการเกษตร 11,267 ไร่  พื้นที่อื่นๆ 16,631  ครัวเรือนเกษตรกร 906 ครัวเรือน

พื้นที่ทำการเกษตร

    ทำนา

             เนื้อที่นาทั้งหมด                     7,322  ไร่

             เนื้อที่นา(จริง)                       4,628  ไร่

             เนื้อที่นาร้าง                         2,694  ไร่

 

ไม้ผล

                    เนื้อที่ปลูกไม้ผลทั้งหมด              553  ไร่

                   ลองกอง                                 175  ไร่

                   เงาะ                                      232  ไร่

                   มังคุด                                    106 ไร่

                   ทุเรียน                                    31  ไร่

                   สละ                                        9   ไร่

          ไม้ยืนต้น

                    เนื้อที่ปลูกไม้ยืนต้นทั้งหมด 3,143  ไร่

                   ยางพารา                            1,142  ไร่

                   มะพร้าว                                482  ไร่

                   ปาล์มน้ำมัน                         1,469 ไร่

                   ไม้ยืนต้นอื่นๆ                           50 ไร่

          เนื้อที่ปลูกพืชไร่ทั้งหมด                   61  ไร่

          เนื้อที่ปลูกพืชผักทั้งหมด                188  ไร่

  • ตำบลเจ๊ะเห

พื้นที่ทั้งหมด 11,859 ไร่ พื้นที่ถือครอง 9,373 ไร่ พื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร 4,863.50 ไร่  พื้นที่ทำการเกษตร 3,999 ไร่  พื้นที่อื่นๆ 2,522  ครัวเรือนเกษตรกร 282 ครัวเรือน

พื้นที่ทำการเกษตร

    ทำนา

             เนื้อที่นาทั้งหมด                     2,037  ไร่

             เนื้อที่นา(จริง)                         261  ไร่

             เนื้อที่นาร้าง                         1,776  ไร่

    ไม้ผล

                    เนื้อที่ปลูกไม้ผลทั้งหมด              373  ไร่

                   ลองกอง                                   43  ไร่

                   เงาะ                                        18  ไร่

                   มังคุด                                      36 ไร่

                   ทุเรียน                                     43  ไร่

                   สละ                                         5  ไร่

                   ผลไม้อื่นๆ                              228  ไร่

          ไม้ยืนต้น

                    เนื้อที่ปลูกไม้ยืนต้นทั้งหมด        1,046  ไร่

                   ยางพารา                                  296  ไร่

                   มะพร้าว                                    495  ไร่

                   ปาล์มน้ำมัน                               205 ไร่

                   ไม้ยืนต้นอื่นๆ                               50 ไร่

                   เนื้อที่ปลูกพืชไร่ทั้งหมด                 17  ไร่

                   เนื้อที่ปลูกพืชผักทั้งหมด                81  ไร่ 

                   เนื้อที่อื่นๆ                                  445  ไร่        

 7.3 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร

                   แหล่งน้ำทางการเกษตร(ธรรมชาติ)  ประกอบด้วย

-  แม่น้ำตากใบ

                   -  แม่น้ำบางนรา

                   แหล่งน้ำทางการเกษตร(ที่สร้างขึ้น)  ประกอบด้วย

  1. คลองระบายน้ำรวม  9  สาย
  2. คลองส่งน้ำรวม  9  สาย
  3. บ่อน้ำตื้นประมาณรวม  1,040  บ่อ

7.4 ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกิน น้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค) 

                   ประปาหมู่บ้าน   รวม  4แห่ง

8.ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

          8.1 การนับถือศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม ซึ่งมีวัด/มัสยิด/บาราเซาะห์ เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ  ดังนี้

-วัด  จำนวน 6 แห่ง

  • วัดฉัททันต์สนาน (บ้านปลักช้าง)หมู่ที่ 1 ตำบลพร่อน
  • วัดพระพุทธ (บ้านใหญ่)หมู่ที่ 3 ตำบลพร่อน
  • วัดโคกมะม่วง (บ้านโคกมะม่วง)หมู่ที่ 4 ตำบลพร่อน
  • วัดสิทธิสารประดิษฐ์ (บ้านโคกยาง)หมู่ที่ 5 ตำบลพร่อน
  • วัดนภาราม (บ้านวัดใหม่)หมู่ที่ 6 ตำบลพร่อน
  • วัดธารากร(บ้านบางน้อย)หมู่ที่ 4 ตำบลเจ๊ะเห

-มัสยิด/บาราเซาะห์  จำนวน 7 แห่ง

  • มัสยิดนูรุษฮีดายะห์(บ้านทุ่งนาหว่าน)หมู่ที่ 5ตำบลพร่อน
  • มัสยิดอีบาดะห์(บ้านโคกกูแว) หมู่ที่ 5ตำบลพร่อน
  • บาราเซาะห์นูรูลบะห์หรี (บ้านเกาะยาว) หมู่ที่ 1ตำบลเจ๊ะเห
  • บาราเซาะห์โคกกูแว หมู่ที่  5ตำบลพร่อน
  • บาราเซาะห์ทุ่งนาหว่าน หมู่ที่  5ตำบลพร่อน
  • บาราเซาะห์เกาะสมัคร หมู่ที่ 5ตำบลพร่อน
  • บาราเซาะห์ปอเน๊าะ หมูที่  5ตำบลพร่อน

            8.2 ประเพณีและงานประจำปี

ประเพณีชิงเปรต

การชิงเปรตเป็นประเพณีเนื่องในเทศกาลเดือนสิบของชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธ โดยจัดในวัดทุกวัด ในวันแรม ๑๔ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ โดยทำร้านจัดสำรับอาหารคาวหวาน ไปวางเพื่ออุทิศส่วนกุศลไปให้เปรตชน (ปู่ ย่า ตา ยาย และบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว) ร้านที่วางอาหารเรียกว่า ร้านเปรต สร้างไว้กลางวัด ยกเสาสูง ๔ เสาบ้าง เสาเดียวบ้าง และนิยมจัดทำร้านเปรต ๒ ร้าน โดยแบ่งออกเป็นร้านเสาสูง สำหรับคนหนุ่มที่มีกำลังวังชาในการปีนป่าย ส่วนอีกร้านเป็นเสาเตี้ยสูงประมาณสะเอว สำหรับให้เด็กและผู้หญิง ได้แย่งชิงเพื่อความสนุกสนาน บนร้านเปรตจะมีสายสิญจน์วงล้อม ไว้รอบ และต่อยาวไปจนถึงที่พระสงฆ์นั่งประกอบพิธีกรรม เมื่อทำพิธีเสร็จแล้ว จะมีผู้ตีระฆังให้สัญญาณ บรรดาผู้มาร่วมทำบุญ ก็จะเข้าไปรุมแย่งสิ่งของอาหารคาวหวานที่อยู่บนร้านเปรตอย่างสนุกสนาน ซึ่งเรียกกันว่า ชิงเปรต 

 ประเพณีบังสุกุลบัว

              การบังกุลบัว คือ การทำบุญระลึกถึงญาติที่ล่วงลับไปแล้ว และนำกระดูกมาบรรจุไว้ในบัว(ที่บรรจุอัฐิ)ประจำหมู่บ้าน ในแต่ละวัดหรือบัวประจำตระกูล มีขึ้นระหว่างเดือน ๕ แรม ๑ ค่ำ ของทุกปีเป็นต้นไป ถือเป็นการชุมนุมญาติของแต่ละหมู่บ้าน ตำบล โดยเมื่อถึงวันบังกุลบัว ญาติพี่น้อง ลูกหลาน ที่ไปประกอบอาชีพหรือไปอยู่ต่างถิ่น จะพร้อมใจกันกลับบ้าน เพื่อทำบุญในวันนี้ และจะมีการทำความสะอาดตกแต่งบัว บางที่เรียกประเพณีนี้ว่า ทำบุญรดน้ำบัว

 ประเพณีลาซัง 

            ลาซัง เป็นประเพณีประจำปีของชาวไทยพุทธ แถวอำเภอ ตากใบ จะเรียกว่า ล้มซัง กินขนมจีน ประเพณีเกิดขึ้นเนื่องจากความเชื่อเรื่องที่นา เรื่องแม่โพสพ โดยเชื่อว่าถ้าจัดทำพิธีนี้แล้ว จะทำให้นาข้าวปีต่อไปนั้นงอกงาม ให้ผลผลิตสูง เพราะชาวนารู้คุณเจ้าที่นา และแม่โพสพ หลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ผู้นำชุมชนก็จะกำหนดวันล้มซัง พร้อมนิมนต์พระจากวัดใกล้ๆ ๓-๕ รูป เพื่อทำพิธีทางศาสนา หลังเสร็จพิธีแล้ว ชาวบ้านจะนำขนมจีนมาถวายพระ เมื่อพระฉันเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้มาร่วมงานก็จะร่วมรับประทานอาหารคือ ขนมจีนร่วมกัน ในภาคบ่ายจะมีกิจกรรมการละเล่นต่างๆเป็นการสนุกสนาน เช่น แข่งว่าว ชักคะเย่อ แย้ชิงรู ชนวัว (ปัจจุบันไม่ค่อยจัดแล้ว) ตีไก่ เล่นไพ่ เล่นลูกกอเจาะ(ลูกเต๋า) เล่นโป ในบางตำบลของอำเภอตากใบ เช่น พร่อน เกาะสะท้อน โฆษิต จะจัดเป็นเทศกาลประจำปี มีภาพยนตร์ หนังตะลุง และการแสดงอื่นๆในภาคกลางคืนด้วย

ประเพณีสวดนา

เป็นการทำบุญให้กับแปลงนาเพื่อให้ข้าวปราศจากสิ่งรบกวน  ได้ผลผลิตเต็มที่ โดยมีพระสงฆ์สวดทำพิธีในต้นฤดูทำนาปี  หลังจากปักดำแล้วในเดือนพฤศจิกายน

การเข้าสุหนัต

          เป็นหลักการของศาสนาอิสลาม อันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องความสะอาด คือการขลิบผิวหนังหุ้มส่วนปลายอวัยวะเพศชายหรือเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า “มาโซะยาวี” ซึ่งจะทำแก่เด็กชายที่มีอายุระหว่าง ๒-๑๐ ปีส่วนการจัดเลี้ยงอาหารในวันเข้าสุหนัตถือว่าเป็นประเพณีอย่างหนึ่ง

วันอาซูรอ 

          อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ หมายถึง วันที่ ๑๐ ของเดือนมุฮัรรอน ซึ่งเป็นเดือนทางศักราชอิสลาม ในสมัย ท่าน นบีนุฮ์ ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ยังความเสียหายแก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชนทั่วไป ทำให้เกิดการขาดอาหารบริโภค จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของที่เหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน เนื่องจากต่างคนต่างมีของคนละอย่างไม่เหมือนกัน ท่าน นบีนุฮ ์ ให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน สาวกของท่านก็ได้รับประทานอาหารโดยทั่วกันและเหมือนกัน ในสมัย ท่าน นบีมูฮัมหมัด (ศ็อล) ได้เกิดเหตุการณ์ทำนองเดียวกันขณะที่กองทหารของท่านกลับจากการรบที่ บาดัร ปรากฏว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่าน นบีมูฮัมหมัด(ศ็อล) จึงใช้วิธีการของท่าน นบีนุฮห์ โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่รับประทานได้มากวนเข้าด้วยกัน แล้วแบ่งกันรับประทานในหมู่ทหาร

        8.3 ภูมปัญญาท้องถิ่น  ภาษาถิ่น

          ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลพร่อน  ประกอบด้วย

-มโนราห์แขก              (นายเพิ่ม  เสาร์วงษ์)

-มโนราห์ดาวรุ่งดวงใหม่   (นายบัว  หะยะมิน)

-ไหว้เจ้าที่                  (นายแดง  คงประเสริฐ)

 -ขนมกรวย                 (นางเฉลียว ทองคุปต์)

-กลองยาว                 (นายแดง  สุขไชย)

-ผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว  (นายประเทือง  รัตโน)

-ซ่อนนะ(ผลิตภัณฑ์ใช้สำหรับหาปลา)        (นายนุ้ย  ไชยสิทธิ์)

-ผ้าทอวัดพระพุทธ                            (นางอนงค์  แดงนำ)

-จาก-ลา (ใช้สำหรับกันแดดกันฝน)          (นายสวัสดิ์  ดำอินทร์)

                   ภาษาถิ่นของตำบลพร่อนและตำบลเจ๊ะเห ใช้ภาษายาวีและภาษาเจ๊ะเห เป็นภาษาพื้นบ้านสำหรับใช้ในการสื่อสาร โดยเฉพาะภาษาเจ๊ะเห มีความไพเราะแตกต่างจากภาษาถิ่นใต้ทั่วไป และเป็นเอกลักษณ์ของชาวตากใบ และจังหวัดนราธิวาสมาจนถึงปัจจุบันนี้  

           8.4 สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก

                             -ผ้าทอ

                             -ข้าวซ้อมมือ

9.ทรัพยากรธรรมชาติ

          9.1 น้ำมีแม่น้ำจำนวน 2 สาย

          9.2 ป่าไม้ตำบลพร่อนมีพื้นที่ของหมู่ที่ 2,3,5 บางส่วนเป็นพื้นที่เขตป่าพรุโต๊ะแดง        

          9.3 คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

           -  มีป่าพรุธรรมชาติ เนื้อที่ประมาณ  12,000  ไร่

           -  แม่น้ำตากใบ  แม่น้ำบางนรา