ข้อมูลการดำเนินงาน

การจัดการองค์ความรู้

ลิงค์ที่น่าสนใจ

โครงสร้างและการจัดการองค์กร

 

       องค์การบริหารส่วนตำบล มีชื่อย่อเป็นทางการว่า อบต. มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งซึ่งจัดตั้งตาม พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 7 พ.ศ.2562 โดยยกฐานะจากสภาตำบลที่มีรายได้โดยไม่รวมอุดหนุนในปีงบประมาณที่ล่วงมาติดต่อกันสามปีเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท

โครงสร้างองค์กรขององค์การบริหารส่วนตำบล

             องค์การบริหารส่วนตำบล   ประกอบด้วย สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

          สภาองค์การบริหารส่วนตำบล  เป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลกรรมการบริหาร ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล  ประกอบด้วยสมาชิก สภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนเขตเลือกตั้งละหนึ่งคน ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในแต่ละเขตเลือกตั้งในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ไม่ถึงยี่สิบห้าคน ให้รวมหมู่บ้านนั้นกับหมู่บ้านที่มีพื้นที่ติดต่อกันและเมื่อรวมกันแล้วจะมีราษฎร ถึงยี่สิบห้าคนเป็นเขตเลือกตั้งเดียวกัน การนับจำนวนราษฎรดังกล่าวให้นับ ณ วันที่ ๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง การรวมหมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้งให้นายอำเภอเป็นผู้ดำเนินการและประกาศ ให้ประชาชนทราบภายในวันที่ ๓๑ มกราคม ของปีที่มีการเลือกตั้ง เว้นแต่เป็นกรณีที่เป็นการเลือกตั้งแทน ตำแหน่งที่ว่าง หรือมีการเลือกตั้งภายในเดือนมกราคม ให้ถือเขตเลือกตั้งที่ได้ประกาศไว้ในการเลือกตั้ง ครั้งสุดท้าย องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีเขตเลือกตั้งไม่ถึงหกเขตเลือกตั้ง ให้สภาองค์การ บริหารส่วนตำบลนั้นประกอบด้วยสมาชิกจำนวนหกคน ตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ (๑) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีหนึ่งเขตเลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลหกคน (๒) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีสองเขตเลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละสามคน (๓) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีสามเขตเลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละสองคน (๔) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีสี่เขตเลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละหนึ่งคน เว้นแต่เขตเลือกตั้งใดมีจำนวน ราษฎรมากที่สุดสองเขตเลือกตั้งแรก ให้เขตเลือกตั้งนั้นมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกเขตเลือกตั้งละหนึ่งคน (๕) ในกรณีที่องค์การบริหารส่วนตำบลใดมีห้าเขตเลือกตั้ง ให้สภาองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น ประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลเขตเลือกตั้งละหนึ่งคน เว้นแต่เขตเลือกตั้งใดมีจำนวน ราษฎรมากที่สุด ให้เขตเลือกตั้งนั้นมีสมาชิกเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน

          องค์การบริหารส่วนตำบล มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล หนึ่งคน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรงการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น

การบริหาร

          กฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหาร อบต. ประกอบด้วยนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้บริหารท้องถิ่นเรียกว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งมาจากการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง

          องค์การบริหารส่วนตำบลมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นผู้กำหนดนโยบายซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล และ มีพนักงานประจำที่เป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ทำงานประจำวันโดยมีปลัดและรองปลัด อบต. ผู้อำนวยการกองเป็นหัวหน้างานบริหาร ภายในองค์กรมีการแบ่งออกเป็นหน่วยงานต่างๆ ได้เท่าที่จำเป็นตามภาระหน้าที่ของ อบต.แต่ละแห่งเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น

          - สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

          - กองคลัง

          - กองช่าง

          - กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

          - กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม​

องค์ประกอบของ อบต. ในการปฏิบัติงาน ดังนี้

(1) สภา อบต.             :  ฝ่ายนิติบัญญัติ

(2) นายก อบต.           :  ฝ่ายบริหาร

(3) พนักงานส่วนตำบล    :  ฝ่ายข้าราชการประจำ

(4) ประชาชนในเขต อบต. :  เป็นศูนย์กลางการพัฒนาและมีส่วนร่วมดำเนินการ

(5) ฝ่ายกำกับดูแล อบต.   :  นายอำเภอและผู้ว่าราชการจังหวัด

โครงสร้างการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบใหม่ตามกฎหมาย